ทุกวันนี้ขนมไทยของเรา เริ่มเป็นที่ยอมรับและนิยมของต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นขนมทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง ขนมหม้อแกง ขนมไส้ไก่ ขนมฝอยทอง ข้าวเหนียวแก้ว ขนมผิง กล้วยฉาบ ล่าเตียง หรุ่ม สังขยา ฝอยทอง และขนมถ้วยตะไล ข้าวต้มมัด รวมไปถึงขนมน้ำหรือว่าขนมหม้อหลากหลายชนิดที่แช่แข็งก็เป็นที่ต้องการ โดยเฉพาะในแถบประเทศเอเชียด้วยกัน เช่น จีน ฮ่องกง ไต้หวัน และสิงคโปร์ พบว่าสินค้าของไทยถูกจัดว่าได้รับความนิยมอยู่ในอันดับที่ 3 เมื่อเทียบกับขนมของประเทศอื่นๆ เฉพาะอย่างยิ่งที่เวียดนามทราบข่าวล่าสุดจากผู้ส่งออกผลไม้ไทยรายหนึ่งบอกว่า ขนมไทยของเรามาแรงมาก ส่วนที่ประเทศญี่ปุ่นขนมทองม้วนได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นทุกปี
ภาพจากlearners.in.th
เพราะว่าขนมไทยมีจุดเด่นหลายอย่าง ประวัติความเป็นมาที่เชื่อมต่อร่องรอยความเจริญในแต่ละยุคสมัย ขนมไทยได้กลายมาเป็น วัฒนธรรมและประเพณีอย่างหนึ่งของคนไทย
สมัยโบราณคนไทยจะทำขนมเฉพาะวาระสำคัญ เช่น ในงานทำบุญ เทศกาลสำคัญ หรือทำไว้รับแขกสำคัญๆ
ขนมไทยต้องใช้ความประรีตมากๆ บางชนิดจำเป็นต้องใช้กำลังคนอาศัยเวลาในการทำพอสมควร ส่วนใหญ่เป็น ขนมประเพณี เป็นต้นว่า ขนมงาน
เนื่องในงานแต่งงาน ขนมพื้นบ้าน เช่น ขนมครก ขนมถ้วย ฯลฯ การประณีตวิจิตรบรรจง จัดวางรูปทรงสวยงาม
ขนมไทยที่นิยมทำกันทุกภาคส่วนของประเทศไทย ในพิธีการต่างๆ เนื่องในการทำบุญเลี้ยงพระ ก็คือขนมจากไข่ และมักถือเคล็ดจากชื่อและลักษณะของขนมนั้นๆ งานสิริมงคลต่างๆ
เช่น งานมงคลสมรส ทำบุญวันเกิด หรือทำบุญขึ้นบ้านใหม่ ส่วนใหญ่ก็จะมีการเลี้ยงพระกับแขกที่มาในงาน เพื่อเป็นสิริมงคลของงาน ขนมก็จะมีฝอยทอง เพื่อหวังให้อยู่ด้วยกันยืดยาว
มีอายุยืน ขนมชั้นก็ให้ได้เลื่อนขั้นเงินเดือน ขนมถ้วยฟู ก็ขอให้เฟื่องฟู ขนมทองเอกก็ขอให้ได้เป็นเอก เป็นต้น
ในสมัยรัชกาลที่ 5 มีการพิมพ์ตำราอาหารออกเผยแพร่ รวมถึงตำราขนมไทยด้วย จึงนับได้ว่าวัฒนธรรมขนมไทยมีการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรครั้งแรก
ตำราอาหารไทยเล่มแรกคือแม่ครัวหัวป่าก์ เขียนโดย ท่านผู้หญิง เปลี่ยน ภาสกรวงศ์ ในหนังสือเล่มนี้ มีรายการสำรับของหวานเลี้ยงพระ ได้แก่ ทองหยิบ ฝอยทอง ขนมหม้อแกง
ขนมหันตรา ขนมถ้วยฟู ขนมลืมกลืน ข้าวเหนียวแก้ว วุ้นผลมะปราง
นอกจากนี้ ความหลากหลายของขนมไทยก็หาชนชาติใดมาเปรียบคงไม่ได้ เพราะว่าขนมของเรามีหลายอย่างหลายชนิด แถมแต่ละท้องถิ่นก็ไม่เหมือนกัน
เป็นภูมิปัญญาที่จะต้องอนุรักษ์ให้คงอยู่ ซึ่งสามารถแบ่งประเภทของขนมไทยตามวิธีการทำให้สุกได้ดังนี้
- ขนมที่ทำให้สุกด้วยการเชื่อม เป็นการใส่ส่วนผสมลงในน้ำเชื่อมที่กำลังเดือดจนสุก ได้แก่ ทองหยอด ทองหยิบ ฝอยทอง เม็ดขนุน กล้วยเชื่อม จาวตาลเชื่อม
- ขนมที่ทำให้สุกด้วยการทอด เป็นการใส่ส่วนผสมลงในกระทะที่มีน้ำมันร้อนๆ จนสุก เช่น กล้วยทอด ข้าวเม่าทอด ขนมกง ขนมค้างคาว ขนมฝักบัว ขนมนางเล็ด
- ขนมที่ทำให้สุกด้วยการกวน ส่วนมากใช้กระทะทอง กวนตั้งแต่เป็นน้ำเหลวใสจนงวด แล้วเทใส่พิมพ์หรือถาด เมื่อเย็นจึงตัดเป็นชิ้น เช่น ตะโก้ ขนมลืมกลืน ขนมเปียกปูน
ขนมศิลาอ่อน และผลไม้กวนต่างๆ รวมถึง ข้าวเหนียวแดง ข้าวเหนียวแก้ว และกะละแม
- ขนมที่ทำให้สุกด้วยการนึ่ง (ใช้ลังถึง) บางชนิดเทส่วนผสมใส่ถ้วยตะไลแล้วนึ่ง บางชนิดใส่ถาดหรือพิมพ์ บางชนิดห่อด้วยใบตองหรือใบมะพร้าว
เช่น ช่อม่วง ขนมชั้น ข้าวต้มผัด สาลี่อ่อน สังขยา ขนมกล้วย ขนมตาล ขนมสอดไส้ ขนมเทียน ขนมน้ำดอกไม้
- ขนมที่ทำให้สุกด้วยการต้ม ขนมประเภทนี้จะใช้หม้อหรือกระทะต้มน้ำให้เดือด ใส่ขนมลงไปจนสุกแล้วตักขึ้น นำมาคลุกหรือโรยมะพร้าว ได้แก่ ขนมถั่วแปบ ขนมต้ม ขนมเหนียว ขนมเรไร
นอกจากนี้ ยังรวมขนมประเภทน้ำ ที่นิยมนำมาต้มกับกะทิ หรือใส่แป้งผสมเป็นขนมเปียก และขนมที่กินกับน้ำเชื่อมและน้ำกะทิ เช่น กล้วยบวชชี มันแกงบวด สาคูเปียก ลอดช่อง ซ่าหริ่ม
- ขนมที่ทำให้สุกด้วยการนึ่งหรืออบ ได้แก่ ขนมหม้อแกง ขนมหน้านวล ขนมกลีบลำดวน ขนมทองม้วน สาลี่แข็ง ขนมจ่ามงกุฎ นอกจากนี้ อาจรวม ขนมครก ขนมเบื้อง
ขนมดอกลำเจียก ที่ใช้ความร้อนบนเตาไว้ในกลุ่มนี้ด้วย
หากประเทศไทยมีการส่งเสริมอุตสาหกรรมการผลิตขนมไทยกันอย่างจริงจัง มีการวิจัยให้ขนมสามารถเก็บได้นานวัน พัฒนาคุณภาพและรสชาติให้ได้มาตรฐาน
สร้างนวัตกรรมของขนมไทยให้มีความแตกต่างเป็นเอกลักษณ์ไทย รวมไปถึงบรรจุภัณฑ์ต่างๆ จะต้องพัฒนาให้สอดคล้องกับรสนิยมของผู้บริโภค
สิ่งสำคัญที่สุดจะต้องสร้างเครือข่ายตลาดขนมไทยตามเมืองต่างๆ ที่เป็นประเทศกลุ่มเป้าหมาย
ขนมไทยสามารถยึดเป็นอาชีพได้อย่างมั่นคง ตลอดจนวัตถุดิบต่างๆ ที่ล้วนผลิตในประเทศไทยแทบทั้งสิ้น
มีการเปิดสอนวิชาขนมไทยของศูนย์อาชีพฯ มติชน ซึ่งมีความหลากหลายพอสมควร โดยจะเน้นประเภทขนมที่สามารถทำเป็นการค้าหรือต่อยอดเป็นอาชีพได้
สนใจเรียนวิชาขนมไทย เรียนได้ที่ ศูนย์อาชีพและธุรกิจ มติชน โทร. (02) 589-2222 ต่อ 2100-2103
ข้อมูลประวัติขนมไทย อ้างอิงจาก วิกิพีเดีย